เมื่อเราเริ่มต้นในการมีรายได้จากการขายของออนไลน์ เราก็คงจะเริ่มมีความคิดเรื่องของการเสียภาษีกันบ้างใช่ไหมครับ
ดังนั้นเรามาเรียนรู้กันดีกว่าว่า ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง มีวิธีการคำนวณอย่างไร หรือเสียอย่างไร
เพราะการเสียภาษีนั้น เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนด ที่จะต้องเสียภาษีนั่นเองครับ
พ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ และคนไทยที่มีรายได้ทุกคนต้องเสียภาษี หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด (150,000 บาทต่อปีขึ้นไป)
หรือสรุปง่ายๆคือ
*หากไม่ถึงเกณฑ์ก็ต้องยื่นให้สรรพากรตรวจสอบนะครับ
โดยภาษีที่ต้องเสียแบ่งออกเป็น 2 แบบ
หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จะเรียกเก็บที่ 7 %
ภาษี(e-Payment) นั้นไม่ใช่ภาษีแต่เป็นการส่งข้อมูลเจ้าของบัญชีให้ทางสรรพากรตรวจสอบ และไม่ได้ตรวจสอบทุกบัญชี
ลองมาดูเงื่อนไขกันว่าเมื่อไรธนาคารจะส่งข้อมูลให้สรรพากรจะตรวจสอบ
*ไม่นับการโอนขาออกให้คนอื่น นับเฉพาะการรับเงินเข้ามา
ซึ่งข้อมูลเพียงเท่านี้กรมสรรพากรไม่สามารถนำมาเก็บภาษีได้
แต่กรมสรรพากรจะนำมาประกอบกับข้อมูลส่วนอื่นๆ ที่มี และเรียกเฉพาะผู้ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีเพื่อขอตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อขอตรวจสอบธุรกรรมดังกล่าว
ดังนั้นถ้าเป็นแม่ค้าออนไลน์ ให้ทำบัญชี รายรับรายจ่าย เพื่อยื่นเป็นหลักฐานเมื่อถูกเรียก
สุดท้ายถ้าเราไม่อยู่ในเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อข้างต้น ก็เพียงแค่ยื่นภาษีแสดงรายได้ประจำปีปกติ เพราะปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ก็ต้องยื่นภาษีเป็นปกติอยู่แล้ว
นำรายได้ที่ได้รับตลอดทั้งปีมาหักค่าใช้จ่าย แยกตามประเภทของรายได้ และหักค่าลดหย่อนตามรายการต่างๆ และตามรายการที่ได้ใช้จ่ายไปจริง
ค่าลดหย่อนต่างๆหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน Google เลยครับเราจะไม่ลงลึกมากไปเพราะแต่ละปีแตกต่างกัน
เราก็จะได่จำนวนเงินได้สุทธิ ซึ่งจะใช้ในการคำนวณการเสียภาษีแบบขั้นบันได
*ถ้าเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี
นี่คือตารางอัตราภาษีที่ต้องเสียแบบขั้นบันใด ตามจำนวนรายได้สุทธิที่เราได้รับในแต่ละปี
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
นาย A เป็นหนุ่มโสด ทำงานประจำและขายของออนไลน์ มีรายได้ปีละ 300,000 บาท จ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพปีละ 100,000 บาท ทำประกันชีวิตไว้โดยจ่ายเบี้ยประกันปีละ 12,000 บาท บริจาคเงิน 3,000 บาท
สามารถคำนวณการเสียภาษีได้ดังนี้
รายได้ตลอดทั้งปี 300,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย (40% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 60,000) 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท
ค่าเบี้ยประกันชีวิต 12,000 บาท
เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 18,000 บาท
เหลือ 180,000 บาท
หักเงินบริจาคตามที่จ่ายจริง 3,000 บาท
เงินได้สุทธิก่อนเสียภาษี 177,000 บาท
นาย A ต้องเสียภาษีดังนี้
เงินได้ 150,000 บาทแรกยกเว้นภาษี
ที่เหลือ 27,000 บาทนำไปคำนวณภาษีภาษีที่ต้องจ่าย (ที่เกินจาก 150,000 บาท)
โดยอยู่ในช่วงอัตรา ภาษี 5% (ระหว่าง 150,001 บาท- 300,000 บาท)
ดังนั้นนาย A ต้องเสียภาษี 27,000*5% = 1,350 บาท
ภาษีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคค
เพียงแค่ยื่นภาษีแสดงรายได้ประจำปีปกติ เพราะปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ก็ต้องยื่นภาษีเป็นปกติอยู่แล้ว หากรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จะเรียกเก็บที่ 7%