WordPress (เวิร์ดเพรสส์) คือ ระบบการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ที่เรียกว่า Content Management System (หรือ CMS) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ส เขียนด้วยภาษา PHP ใช้ฐานข้อมูล MySQL ซึ่งมีเว็บไซต์มากกว่า 36.2% บนโลกอินเทอร์เน็ตใช้ WordPress ในการสร้าง
โดยทุกคนสามารถใช้หรือแก้ไขซอฟต์แวร์ WordPress ได้ฟรี โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้อะไร เกี่ยวกับโค้ดหรือการเขียนโปรแกรมเลย
เนื้อหา
กดเลือกหัวข้อเพื่อช้ามไปอ่านทันที
บทที่ 3
บทที่ 1
หากจะพูดว่า WordPress นั้นสามารถสร้างเว็บไซต์อะไรได้บ้าง ผมขอตอบได้เลยว่าสร้างได้เกือบทุกประเภท เพราะ WordPress มีเครื่องมือที่ชื่อว่า Plugin ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถให้คุณใช้สร้างเว็บแบบไหนก็ได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมอะไรเลย
ซึ่งนี่คือตัวอย่างประเภทเว็บไซต์ที่สามารถสร้างได้ด้วย WordPress
บล็อก (Blog) เป็นเว็บไซต์ประเภทที่ใช้ในการเขียนแบ่งปัน ความคิด ความรู้ ภาพถ่าย บทวิจารณ์ บทแนะนำ สูตรอาหารและอื่น ๆ อีกมากมาย โดยผู้ที่ทำอาชีพเขียนบล็อกจะเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์ (Blogger)"
เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเป็บเว็บที่ช่วยให้คุณขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์ และเก็บเงินผ่านระบบการชำระเงินออนไลน์ โดยคุณสามารถดาวน์โหลดและติดตั้งปลั๊กอินอีคอมเมิร์ซลงบน WordPress เพื่อให้คุณสามารถมีร้านค้าออนไลน์บนเว็บไซต์ของคุณได้ (ปลั๊กอินที่นิยมคือ Woocommerce ใช้งานได้ฟรี)
ธุรกิจจำนวนมากได้รับประโยชน์จากการมีตัวตนอยู่บนโลกออนไลน์ในรูปแบบของเว็บไซต์ หากธุรกิจของคุณต้องการเว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้าได้รู้จักเกี่ยวกับบริษัทของคุณและสิ่งอื่นๆที่อยากคุณนำเสนอ WordPress เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมเพราะลูกค้าจะสามารถ ติดต่อคุณ ขอใบเสนอราคา นัดหมาย และอื่นๆ อีกมากมาย
เว็ปไซต์สมาชิกคือเว็บที่จะช่วยให้คุณเรียกเก็บเงินจากสมาชิก เพื่อแลกกับการเข้าถึงเนื้อหาสุดพิเศษบนเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งในปัจจุบันมีเว็บไซต์ประเภทนี้มากมาย เช่น Netflix ที่เรียกเก็บเงินกับสมาชิกเป็นรายเดือนเพื่อเข้าถึงซีรี่ย์และภาพยนตร์
ซึ่ง WordPress สามารถทำเว็บไซต์ประเทภนี้ให้คุณได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโค้ดเลยเพราะจะมี Plugin ให้คุณเลือกใช้งานได้มากมาย
เป็นเว็บที่ใช้เพื่อแสดงผลงานศิลปะ การออกแบบ และอื่น ๆ
เว็บไซต์ฟอรัม (forum) คือ เว็บที่ใช้ในการถามคำถาม พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เชื่อหรือไม่ว่าเว็บไซต์ฟอรัมจำนวนมากทำงานบน WordPress
WordPress จะช่วยให้คุณสร้างเว็บเพื่อแบ่งปันรายละเอียดกิจกรรม และขายตั๋ว ได้อย่างง่ายดาย
คุณสามารถสร้างเว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์ได้ง่ายๆจาก WordPress โดยการใช้ปลั๊กอินชนิดพิเศษที่เรียกว่าปลั๊กอิน WordPress LMS
ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนหลักสูตรออนไลน์ ติดตามความคืบหน้า ดาวน์โหลดแหล่งข้อมูลของคอร์ส ถามตอบ และอื่นๆอีกมากมายจากเว็บไซต์ e-learning ของคุณ
นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ WordPress ยังสร้างเว็บไซต์ประเภทอื่นได้อีกเยอะแยะครับนี่แค่ยกตัวอย่างบางส่วนมาเท่านั้น
บทที่ 2
หากคุณเพิ่งเริ่มต้นใช้งาน WordPress มีสิ่งสำคัญบางประการที่ควรทราบ ก่อนอื่นคุณจะต้องทราบความแตกต่างระหว่าง WordPress.com กับ WordPress.org
สรุปสั้นๆ
เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปรายหนึ่ง ผู้ที่อยากมีเว็บไซต์สามารถสมัครสมาชิกแล้วเริ่มเขียนเนื้อหาได้ฟรีทันที แต่ก็จะมีข้อจำกัดต่างๆมากมายเพราะเราไม่ใช่เจ้าของเว็บโดยแท้จริง
เป็นที่ที่คุณสามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ WordPress เพื่อติดตั้งลงบนเว็บโฮสติ้งของคุณเอง ทำให้คุณปรับแต่งทุกอย่างได้ตามต้องการเพราะคุณเป็นของ 100%
WordPress.org ดีกว่าเยอะมากเพราะเราคืเจ้าของเว็บ 100% ที่มีสิทธิ์จะทำอะไรก็ได้ และ WordPress.org มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เรียกได้ว่าเยอะมหาศาล เทียบกับ WordPress.com แล้วเหมือนฟ้ากับดินก็ว่าได้
บทที่ 3
WordPress เริ่มต้นในปี 2003 โดย Mike Little และ Matt Mullenweg พยายามสร้างแพลตฟอร์มบล็อกที่ดีขึ้น โดยใช้โค้ดพื้นฐานจาก B2 cafelog
ผลลัพธ์คือได้เป็น WordPress ที่เป็นเครื่องมือสำหรับการเขียนบล็อกได้ง่ายและดีกว่าเดิม จึงกลายเป็นระบบการจัดการเนื้อหา (CMS) ที่นิยมไปทั่วโลกซึ่งสามารถจัดการเว็บไซต์ได้หลากหลายมากกว่าเดิมในปัจจุบัน
บทที่ 4
นี่คือประโยชน์ต่างๆของ WordPress ซึ่งจะบอกได้ว่ามันเหมาะกับคุณหรือไม่ ก่อนที่ตัดสินใจใช้งาน
WordPress ช่วยให้คุณเผยแพร่และสร้างเนื้อหาลงเว็บไซต์ของคุณได้อย่างรวดเร็ว แม้จะเป็นมือใหม่คุณก็สามารถใช้ WordPress ได้อย่างง่ายดาย
ซอฟต์แวร์ของ WordPress จะอยู่ในเว็บ WordPress.org ซึ่งสามรถเข้าไปดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี แต่อย่างไรก็ตามคุณจะต้องจ่ายเงินค่าเว็บโฮสติ้งและค่าจดชื่อโดเมน
WordPress ช่วยให้คุณสร้างเว็บไซต์ได้เกือบทุกประเภท เช่น บล็อกส่วนตัว ร้านค้าออนไลน์ เว็บสมาชิก ฟอรัม และอื่นๆอีกมากมาย
หากคุณสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Word ได้ คุณก็สามารถใช้ WordPress เพื่อสร้างและจัดการเว็บไซต์ได้ ง่ายๆแบบนั้นเลย
WordPress เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ได้รับอนุญาตภายใต้ GNU General Public License (GPL) ซึ่งหมายความว่าไม่ได้เป็นของ บริษัท หรือหน่วยใดๆ
นักพัฒนาและผู้ใช้หลายร้อยคนร่วมมือกันและมีส่วนร่วมในการปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้น (จุดมุ่งหมายของโอเพ่นซอร์สคือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ความรับผิดชอบ และการใช้งานฟรีสำหรับทุกคน)
เราไม่จำเป็นต้องรู้วิธีเขียนโค้ดเพื่อสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress แม้ว่า WordPress จะสร้างโดยการใช้ภาษาจากการเขียนโค้ดที่หลากหลาย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาใดๆ ในการใช้ WordPress
เราสามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆเพิ่มเติมให้เว็บไซต์ของเราได้โดยการติดตั้งสิ่งที่เรียกว่า "ปลั๊กอิน" (WordPress Plugin)
ปลั๊กอิน WordPress เป็นซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่คุณสามารถอัปโหลดไปยังเว็บไซต์ของคุณเพื่อเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆตามต้องการ (เช่น ปลั๊กอินสร้างแบบฟอร์ม ปลั๊กอินเพิ่มปุ่มแชร์ ปลั๊กอินระบบสมาชิก ปลั๊กอิน SEO) ซึ่งมีปลั๊กอิน WordPress ให้ใช้งานได้ฟรีหลายหมื่นรายการ รวมถึงปลั๊กอินพรีเมียมที่ต้องเสียเงินเพื่อใช้งาน
ธีม WordPress จะช่วยให้เราสามารถออกแบบและการจัดวางตำแหน่งของสิ่งต่างๆบนเว็บไซต์ของคุณได้โดยง่ายดายตามชอบ
แม้ว่าจะไม่มีแพลตฟอร์มเว็บไซต์ไหรที่จะปลอดภัย 100% แต่การรักษาความปลอดภัยของ WordPress ยังคงได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยทีมรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดของผู้พัฒนาและผู้ใช้ ซึ่งปัญหาด้านความปลอดภัยของ WordPress มักเกิดจากข้อผิดพลาดของผู้ใช้ไม่ใช่ตัวซอฟต์แวร์
เนื่องจาก WordPress ได้รับความนิยมอย่างมากจึงง่ายต่อการค้นหาความช่วยเหลือหากคุณเคยประสบปัญหาใดๆ ตัวอย่างที่ที่คุณสามารถไปหาความรู้ได้ :
เมื่อคุณสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress คุณจะสามารถมีส่วนร่วมในชุมชน WordPress ผ่าน WordPress Meetup , WordCamps , กลุ่มใน Facebook (กลุ่มของคนไทยมีเยอะมาก)
ซึ่งคุณก็สามารถเข้าร่วมและพูดคุยถามตอบปัญหา ปรึกษา จ้างงาน และอื่นๆอีกมากมายจากผู้ที่ใช้งาน WordPress เหมือนกับคุณ
กลุ่มที่ในไทยที่แนะนำ → WordPress Bangkok
บทที่ 5
นี่เป็นเพียงคุณสมบัติบางส่วนของ WordPress ที่ผมชอบและมันก็ดีจริงๆ
การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา (หรือที่เรียกว่าการทำ SEO) SEO จะช่วยให้ผู้คนสามารถค้นพบเนื้อหาเว็บไซต์ของคุณผ่านทางเครื่องมือค้นหาทั่วไปเช่น Google หรือ Bing
ซึ่ง WordPress นั้นมีเครื่องมือต่างๆมากมายที่ใช้ในการปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณให้ดีที่สุดต่อการทำ SEO
WordPress เป็น lean website framework ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องในการลบ “code bloat” ที่ทำให้ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ช้าลง
ธีม WordPress ส่วนใหญ่เป็นธีมที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานให้เหมาะสมกับมือถือได้ หรือที่เรียกว่า Mobile friendly นั่นเอง
WordPress มีไลบรารีสื่อในตัวที่คุณสามารถอัปโหลดและฝังไฟล์สื่อ เช่น รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์pdf ลงในเว็บไซต์ของคุณ ได้ และคุณยังสามารถแก้ไขปรับแต่งรูปภาพของคุณเบื้องต้นได้ใน WordPress
WordPress ใช้งานง่ายมากโดยไม่มีการตั้งค่าที่ซับซ้อน คุณจะสามารถทำความเข้าใจในการใช้งานเครื่องมือต่างๆโดยใช้เวลาไม่นาน
WordPress ช่วยให้สร้างเมนู พร้อมลิงก์ไปยังหน้าเว็บต่างๆที่คุณต้องการได้อย่างง่ายดาย
WordPress มีเครื่องมือที่ชื่อว่า post ซึ่งคุณจะสามารถใช้สร้างบล็อกให้เว็บของคุณได้ทันทีโดยไม่ต้องลงเครื่องมืออะไรเพิ่ม
เราสามารถสร้างและออกแบบหน้าเว็บต่างๆของเราได้ตามต้องการโดยใช้วิธีการลากวาง ไม่ต้องเขียดโค้ดใดๆแม้แต่ตัวเดียว (ถ้าเขียนโค้ดเป็นก็ทำได้)
บทที่ 6
WordPress มีผู้ใช้งานมากกว่า 60 ล้านเว็บไซต์ หรือคิดเป็น 36% ของเว็บไซต์ทั้งหมดบนโลกอินเทอร์เน็ต และมากกว่า 60% ของเว็บไซต์ที่ใช้ระบบจัดการเนื้อหา (CMS)
ซึ่งมีบริษัท องกรณ์ และคนที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากมายที่ใช้ WordPress ในการสร้างเว็บไซต์
ตัวอย่างเช่น
บทที่ 7
วิธีการใช้งาน WordPress นั้นจะมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
ซึ่งนี่คือคลิปคู่มือสอนวิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress แบบง่ายสุดๆ กดดูได้เลย
บทที่ 8
ปลั๊กอิน WordPress คือซอฟแวร์ที่คุณสามารถอัพโหลดลงบนเว็บไซต์เพื่อเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆที่คุณอยากได้ให้กับเว็บไซต์ WordPress ของคุณ
ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเพิ่มแบบฟอร์มลงในเว็บไซต์ คุณก็เพียงดาวน์โหลดติดตั้ง ปลั๊กอิน WordPress ที่ชื่อว่า Contact form 7 เพื่อทำให้เว็บของคุณสร้างแบบฟอร์มได้
ซึ่งคุณไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโค้ดอะไรเลย เพียงหาปลั๊กอินที่มีฟังก์ชั่นตามที่คุณอยากได้แล้วติดตั้งลงเว็บได้ง่ายๆ
บทที่ 9
WordPress theme (ธีม) คือ สิ่งที่ใช้เพื่อกำหนดลักษณะและการแสดงผลของเว็บไซต์ว่าอยากให้มีหน้าตาเป็นแบบไหน มีทั้งธีมฟรีและเสียเงินให้เลือกมากมายตามที่คุณชอบ เช่น
ซึ่งแต่ละธีมจะมาพร้อมกับการออกแบบเค้าโครงของหน้าเว็บและคุณสมบัติอื่นๆเพิ่มเติ่มที่แตกต่างกัน คุณก็ต้องเลือกธีมที่เหมาะกับรสนิยมและความต้องการสำหรับเว็บไซต์ของคุณ
และยังมีรูปแบบที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับเว็บไซต์บางประเภทโดยเฉพาะ เช่น WordPress Photography Themes ที่ออกแบบมาสำหรับช่างภาพและเว็บไซต์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ