คุณสนใจที่จะเรียนรู้วิธีสร้างเว็บบล็อกใช่หรือไม่ ?
ในบทความนี้เราจะมาสอนทุกขั้นตอนอย่างละเอียดเพื่อให้คุณสร้างเว็บบล็อกได้อย่างแน่นอน
คุณไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโค้ดหรือเคยสร้างเว็บมาก่อนคุณก็สามารถทำตามได้
ดังนี้อย่ารอช้าไปเรียนรู้กันเลยครับ
การสร้างเว็บบล็อกนั้นมีทางเลือกให้คุณเริ่มต้นได้มากมาย
หากคุณอยากเริ่มต้นทำแบบไม่จริงจังมากนักอาจใช้ผู้ให้บริการสร้างเว็บ Blog แบบฟรีไปก่อน เช่น Blogger , WordPress.com
แต่ผมไม่แนะนำเลย!
ทำไม?
นี่คือเหตุผลที่ผมไม่แนะนำให้คุณสร้างเว็บบล็อกฟรี
เช่น หากคุณสร้างเว็บโดยใช้ Blogger โดเมนเว็บคุณจะอยู่ในรูปแบบ: ชื่อเมนที่คุณตั้ง.blogspot.com
มันยาวและดูไม่ดีเลยใช่ไหมครับ?
ปัญหาสำคัญๆนอกจากความสวยงามแล้วเวลาคนจะค้นหาเว็บของคุณเขาจะพิมพ์ชื่อโดเมนเพื่อเข้าเว็บของคุณได้ยากมากเพราะมันยาวสุดๆทำให้ผู้คนจำไม่ได้นั่นเอง
หากคุณสร้างเว็บบล็อกแบบฟรีเช่นสร้างด้วย Blogger คุณจะสามารถปรับแต่งมันได้น้อยมากๆเช่น การปรับแต่ง layout ที่จำกัด , เครื่องมือในการออกสร้างหน้าเว็บที่น้อย , ไม่มี Plugin ที่เพิ่มความสามารถต่างๆได้มากมาย
ใช่ครับการที่เราไปสร้าง blog ในผู้ให้บริการฟรีต่างๆเหล่านี้คุณเปรียบเสมือนไปยืมบ้านเขาอยู่ครับเขาจะปิดเว็บของคุณตอนไหนก็ได้
ของฟรีที่ดีไม่มีในโลกครับผู้ให้บริการบางเจ้าจะนำโฆษณาใส่ลงในเว็บของคุณเพื่อเป็นทางในการหารายได้ให้เขา (ไม่ได้แบ่งให้คุณ)
ยกตัวอย่างหากคุณสร้างเว็บบล็อกฟรีกับ wordpress.com คุณต้องเสียเงินสูงสุด 1500 บาทต่อเดือนเพื่อจะได้ใช้คุณสมบัติเพิ่มเติมอื่นๆ
อันที่จริงคุณสามารถใช้เครื่องมือในการสร้าง Blog ที่ชื่อว่า WordPress.org ได้ฟรี ซึ่งมันเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในการสร้างเว็บไซต์ที่เปิดให้ทุกคนใช้ได้ฟรี
และรู้ไหมว่าเว็บไซต์กว่า 36.2 % สร้างโดยใช้ WordPress พูดง่ายๆคือคุณเปิดเว็บมา 3 เว็บ 1 ในนั้นจะสร้างด้วย WordPress
(อย่าสับสนกับ WordPress.com อันนั้นก็ใช้ฟรีแต่จำกัดการใช้งานเยอะสุดๆหากไม่จ่ายเงิน แต่ตัวนี้ใช้ฟรี 100% หากสงสัยไปอ่านบทความนี้ก่อน → wordpress คืออะไร)
ไหนบอกว่าใช้ฟรีแล้วทำไมทำต้องเสียเงิน ?
เพราะการสร้างเว็บไซต์ทุกชนิดเราต้องเสียเงินให้กับการจดโดเมน และการเช่าโฮสติ้ง สิ่ง 2 อย่างนี้จำเป็นต้องมีในการสร้างเว็บไซต์เสมอขาดไม่ได้
ใช่แล้วมันไม่ฟรี แล้วทำไมเราควรใช้มันล่ะ ?
คุณสามารถตั้งชื่อโดเมนได้ตามต้องการ สวยงาม และจดจำง่าย และคุณสามารถกำหนดนามสกุลโดเมนได้อีกด้วย เช่น .com .net .org .co.th และอื่นๆตามต้องการ
คุณสามารถปรับแต่งทุกอย่างได้อย่างไม่จำกัด เช่น ปรับ layout , เปลี่ยนฟ้อนต์รูปแบบอักษร , เปลี่ยนโลโก้ , ปรับแต่งเมนูของเว็บ และอื่นๆอีกมากมาย
คุณเป็นเจ้าของเว็บแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอยากทำอะไรกับเว็บของคุณก็ได้ ไม่มีกฎ ไม่มีข้อจำกัด ปรับแต่งออกแบบเขียน blog ได้ตามที่คุณต้องการทุกๆอย่าง
WordPress.org มีเครื่องมือที่เรียกว่า Plugin ที่ช่วยเพิ่มความสามารถต่างๆให้แก่เว็บไซต์ของเรามากมายหลายหมื่นรายการ
ซึ่งคุณสามารถใช้งานได้ฟรี!! โดยการไปดาวน์โหลดได้ที่ → wordpress.org/plugins
ตัวอย่างหากคุณอยากทำเว็บขายของออนไลน์ได้ก็แค่ติดตั้ง plugin woocommerce
หรืออยากจะให้เว็บมีปุ่มกดแชร์ก็แค่ติดตั้งปลั๊กอิน seed social
แนะนำอ่านเพิ่มเติม : แนะนำ 11 plugin wordpress ที่ต้องจำเป็นต้องมี , WordPress ทําอะไรได้บ้าง , ข้อดีข้อเสีย ของ WordPress
ดังนั้นผมก็จะสอนวิธีสร้างเว็บบล็อกด้วย WordPress.org กันนะครับด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา ไปเรียนรู้กันเลย
คุณสามารถดูเป็นคลิปสอนได้ด้านล่างนี้ (เนื้อหาในบทความนี้ละเอียดว่าในคลิปแนะนำดูคลิปเสร็จให้อ่านบทความต่อ)
ขั้นตอนที่ 1
โดเมน (Domain) คือที่อยู่เว็บไซต์ของเราใช้เพื่อให้ผู้คนสามารถค้นหาเว็บของเราเจอได้
คุณสามารถตั้งชื่อโดเมนว่าอะไรก็ได้ตามต้องการ จากนั้นคุณก็เลือกนามสกุลโดเมนตามที่ต้องการได้อีก
ตัวอย่างโดเมนที่คุณน่าจะรู้จักกันดี เช่น google.com ชื่อโดเมนก็คือ google นามสกุลโดเมนก็คือ .com
นึกภาพออกแล้วใช่ไหมครับ
แม้ว่าเราจะตั้งชื่อโดเมนว่าอะไรก็ได้ตามต้องการ แต่นี่คือหลักการตั้งโดเมนที่ผมแนะนำ
หากคุณพร้อมที่จะมีบล็อกแล้วก็ไปเรียนรู้ขั้นตอนแรกในการสร้างเว็บบล็อกกันเลยซึ่งผมได้เขียนบทความแยกสอนไว้แบบละเอียดแล้วกดไปดูกันได้เลย
ขั้นตอนที่ 2
โฮสติ้ง (Hosting) คือสิ่งที่ใช้ในการเก็บไฟล์ต่างๆของเว็บของเรา เช่น รูปภาพ ตัวหนังสือ โดยเป็นการเก็บลงในคอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงที่เรียกว่า server เมื่อมีคนเข้าเว็บของเรามันก็จะส่งข้อมูลต่างๆบนหน้าเว็บของเราให้ผู้เข้าชมได้เห็น
และมันก็เป็นสถานที่ในการใช้ติดตั้ง WordPress ซึ่งเป็นซอฟแวร์ในการสร้างเว็บบล็อกให้เราแบบง่ายๆในไม่กี่คลิกอีกด้วย
ผมได้เขียนบทความสอนวิธีการเช่า hosting และติดตั้ง wordpress แบบละเอียดไว้แล้วสามารถกดดูได้ด้านล่างนี้เลย
หากทำขั้นตอนนี้เสร็จก็ไปดูขั้นตอนต่อไปกันเลย
ขั้นตอนที่ 3
โดเมนและโฮสติ้ง (domains และ hosting) จะทำงานแยกกันคนละส่วน แต่ก็ต้องทำงานร่วมกันจึงจะทำให้เว็บของเราทำงานได้ ซึ่งเราก็ต้องทำการเชื่อมมันเข้าด้วยกันนั่นเอง
ผมได้ทำบทความสอนหัวข้อนี้แยกไว้เช่นกันครับ สามารถกดดูวิธีการแบบละเอียดได้ด้านล่างเลย
ขั้นตอนที่ 4
SSL ย่อมาจาก Secure Sockets Layer เป็นการเข้ารหัสระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์และเบราว์เซอร์ ช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญต่างๆที่ถูกส่งระหว่างสองระบบจากการอ่านและแก้ไขข้อมูล เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลทางการเงิน ชื่อ ที่อยู่ และอื่น ๆ
เราควรติดตั้ง SSL ให้เว็บเสมอเพราะช่วยเรื่องความปลอดภัยและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้เว็บ blog ของเราได้มาก ซึ่งคุณสามารถติดตั้งได้ฟรีผ่านทาง hosting ที่ผมสอนให้คุณเช่า (หากคุณเช่ากับเจ้าอื่นอาจต้องเสียเงินส่วนนี้เพิ่ม)
ดูขั้นตอนการทำได้เลยตามบทความนี้
ขั้นตอนที่ 5
หลังจากทำขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมาก่อนหน้านี้เราก็ต้องทำการตั้งค่าเว็บไซต์ของเราเพื่อให้มันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีมากขึ้น
นี่คือการตั้งค่าต่างๆที่ควรทำหลังจากที่คุณติดตั้งเว็บใหม่กดดูได้ทีละหัวข้อเลย
ขั้นตอนที่ 6
นี่คือขั้นสำคัญก็คือการเริ่มต้นสร้างเว็บ blog ของเรา ซึ่งหัวข้อนี้จะสอนแบบละเอียดทุกอย่าง เช่น
เริ่มแรกเลยเราต้องติดตั้งธีมให้เว็บของเราก่อน
ไปที่เมนู รูปแบบเว็บ → ธีม → เพิ่มใหม่
ในช่องค้นหาพิมพ์คำว่า "generatepress"
จากนั้นก็ให้กด ติดตั้ง แล้วรอสักครู่จากนั้นกด Activate
ซึ่งนี่ก็คือเว็บบล็อกของเราหลังจากที่ติดตั้งธีมเสร็จ
มันก็ยังดูไม่สมบูรณ์เป็น blog เท่าไร ดังนั้นเราไปทำขั้นอื่นๆกันต่อดีกว่า
หลังจากที่เราติดตั้งธีมเสร็จเราก็มาดูวิธีการเขียนบทความลงเว็บบล็อกของเรากันต่อเลย
ก่อนอื่นให้เราไปที่เมนู เรื่อง → แล้วเลือก เขียนเรื่องใหม่
เราก็จะมาเจอกับหน้าที่ใช้ในการเขียนบทความลงบล็อกของเราแล้ว
โดยการเพิ่มเนื้อหาให้บทความของเรา เราสามารถใส่เนื้อหาได้หลากหลายรูปแบบ เช่น รูปภาพ ย่อหน้า หัวข้อ รายชื่อ กลอน ตาราง และอื่นๆ
ซึ่งคุณสามารถกดเลือกรูปแบบเนื้อหาที่จะใส่ลงในบทความได้ที่เครื่องหมาย + ตรงมุมซ้ายบนตามภาพ
รูปภาพประจำเรื่องเป็นรูปภาพหลักของบทความเสมือนกับรูปภาพหน้านั่นเอง ซึ่งมันจะนำไปใช้งานต่างๆมากมาย เช่น นำไปแสดงไว้บนสุดของบทความของเรา, นำไปใช้เป็นรูปภาพหน้าปกในหน้ารวมบทความ, นำไปใช้เป็นภาพปกเวลาเราแชร์บทความลงใน social media
ดังนั้นแล้วอย่าพลาดที่จะใส่รูปภาพประจำเรื่องเด็ดขาด
ซึ่งนี่คือตัวอย่างภาพประจำเรื่องที่แสดงในหน้าบทความของเรา
และนี่คือตัวภาพประจำเรื่องที่แสดงเป็นภาพหน้าปกในหน้ารวมบทความของเรา
ง่ายๆเลยให้คุณไปที่เมนูด้านขวาก็จะเจอกับเมนู รูปประจำเรื่อง จากนั้นให้กดที่ กำหนดรูปประจำเรื่อง แล้วอัปโหลดรูปที่ต้องการได้เลย
เราสามารถกำหนดหมวดหมู่ให้แก่บทความของเรา เพื่อความเป็นระเบียบในการเขียนบทความ และสามารถนำหมวดหมู่นี้ไปให้ผู้ใช้งานกดเลือกอ่านตามหมวดหมู่ได้อีกด้วย แนะนำว่าควรตั้งหมวดหมู่ให้แก่บทความทุกครั้ง
เริ่มแรกให้คุณไปที่เมนู หมวดหมู่
แล้วพิมพ์หมวดหมู่ลงในช่อง ชื่อหมวดหมู่ใหม่
จากนั้นกด สร้างหมวดหมู่ใหม่
ต่อมาหากเราเขียนบทความใหม่ที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน เราก็มาติ้กถูกในช่องหมวดหมู่ที่เคยสร้างไว้แล้วก่อนหน้า หรือหากยังไม่มีหมวดหมู่ใดๆที่ตรงกับบทความใหม่ของเรา เราก็สร้างขึ้นมาใหม่นั่นเอง
หลังจากที่เรา ตั้งชื่อบทความ → เขียนเนื้อหาของบทความ → ใส่รูปประจำเรื่อง → ใส่หมวดหมู่
ก็ถือได้ว่าเราทำทุกอย่างสำเร็จแล้วให้เรากด เผยแพร่ เพื่อนำบทความของเราไปแสดงให้ผู้อื่นได้อ่านกันเลย
นี่คือตัวอย่างของกล่องแสดงข้อมูลของผู้เขียน โดยมันจะแสดงอยู่ใต้สุดของบทความของเรา
ข้อมูลที่จะแสดงได้แก่
เริ่มแรกเลยให้เราไปที่เมนู ปลั๊กอิน → เพิ่มปลั๊กอินใหม่
ในช่องค้นหาให้พิมพ์คำว่า simple author box
จากนั้นกด ติดตั้งตอนนี้ รอสักครู่แล้วกด Activate
จากนั้นให้กดที่เมนู Settings
แล้วกดที่ Edit Author Profile
เริ่มแรกให้เลื่อนไปที่หัวข้อ ชื่อเล่น (ต้องการ) จากนั้นทำตามนี้
เริ่มแรกให้เลื่อนไปที่หัวข้อ ข้อมูลชีวประวัติ จากนั้นกรอกข้อมูลประวัติของผู้เขียนที่เราต้องการลงในช่องได้เลยตามชอบ
ไปที่หัวข้อ Social Media Links (Simple Author Box)
สุดท้ายหลังจากที่คุณใส่ข้อมูลผู้เขียนทุกอย่างตามข้างต้นแล้ว อย่าลืมกด อัปเดตข้อมูลส่วนตัว
นี่คือภาพตัวอย่างของ บทความล่าสุด และ หมวดหมู่บทความ
2 อย่างนี้มีประโยชน์อย่างมากเพราะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านบทความอื่นๆของเราที่เพิ่มลงล่าสุดได้และสามารถกดเลือกอ่านบทความตามหมวดหมู่ที่ชอบได้ ช่วยให้ผู้คนอยู่บนเว็บของเรานานขึ้น และอ่านบทความอื่นๆของเราเยอะขึ้น
เริ่มแรกเลยให้คุณไปที่หน้าเว็บไหนก็ได้แล้วกดที่ ปรับแต่ง
สังเกตตรงด้านขวาจะมีรูปดินสอขึ้นมา ให้เรากดได้เลย
จากนั้นลบอันที่เราไม่ได้ใช้ออกให้หมด
ทีนี้กด เพิ่มวิดเจ็ต
แล้วค้นหาคำว่า หมวดหมู่ จากนั้น กดคลิกที่หมวดหมู่
ในช่อง ชื่อ คุณสามารถพิมพ์ชื่อหัวข้อได้เลยตามที่อยากจะตั้ง
หลังจากนี้เราก็ไปใส่โลโก้ให้เว็บกันต่อ ทำต่อได้เลยจากขั้นตอนนี้
เริ่มแรกเลยสังเกตตรงมุมซ้ายบนจะเจอรูปดินสออยู่ที่โลโก้ปัจจุบันของเรา ให้เรากดคลิกที่รูปดินสอ
เราสามารถเพิ่มรูปโลโก้ให้เว็บของเราได้ 2 แบบคือ แบบเป็นตัวอักษร และแบบเป็นรูปภาพ
ตรงเมนูชื่อเว็บให้เรากรอก ชื่อเว็บของเรา ชื่อแบรนด์ ชื่อเรา หรืออะไรก็ได้ เพื่อนำมันไปใช้เป็นโลโก้ของเว็บ
ก่อนอื่นกดติ้กถูกที่ช่อง Hide site title และ Hide site tagline ก่อน
จากนั้นกดที่ เลือกรูปโลโก้ แล้วอัปโหลดรูป logo ได้เลยตามต้องการ
หากภาพ logo ใหญ่เกินไปก็สามารถไปที่เมนู Logo Width เพื่อลากปรับขนาดได้ตามชอบ
มีหน้าเว็บ 2 อย่างที่ผมแนะนำให้คุณสร้างที่จำเป็นสำหรับการเขียนเว็บบล็อกก็คือหน้า ติดต่อเรา และหน้า เกี่ยวกับเรา
โอเคทีนี้เราไปเรียนรู้วิธีการสร้างมันกันเลยครับ
เริ่มแรกเลยให้เราเอาเมาส์ไปชี้ที่รูปไมล์รถทางซ้ายบน แล้วกดที่หน้าควบคุม
แล้วกดที่ หน้า
จากนั้นทำการลบหน้าเว็บตัวอย่างที่ระบบสร้างมาให้ออกให้หมด
เริ่มแรกให้กดที่ เขียนหน้าใหม่
แล้วทำต่อไปนี้
ก่อนอื่นให้เรากลับไปที่หน้าก่อน โดยการกดไปที่รูป W ตามภาพ
แล้วกดที่ เขียนหน้าใหม่
จากนั้นทำตามนี้
นี่คือตัวอย่างของผมซึ่งได้เพิ่ม ไลน์ id, facebook, email ลงในหน้าติดต่อเรา คุณไม่ต้องทำแบบผมก็ได้ สามารถใส่ข้อมูลอื่นๆและตกแต่งให้สวยงามกว่านี้ได้เลย
มีเมนู 3 อันที่ผมแนะนำให้คุณเพิ่มลงในเมนูของเว็บก็คือ หน้าแรก, หน้าเกี่ยวกับเรา, หน้าติดต่อเรา
เริ่มแรกให้คุณไปที่หน้าเว็บไหนก็ได้ของคุณจากนั้นกดที่ ปรับแต่ง
แล้วกดที่ เมนู
แล้วกด สร้างเมนูใหม่
ทีนี้กด + ติดต่อเรา และ กด + เกี่ยวกับเรา เพื่อนำหน้าเว็บนี้มาใช้เป็นเมนู
เราสามารถสลับตำแหน่งได้ว่าจะให้เมนูไหนขึ้นก่อนหลังโดยทำตามนี้
เริ่มแรกกดที่ เรียงใหม่
ก็จะเจอกับลูกศรกดขึ้นลงเพื่อสลับตำแหน่งเมนูเว็บได้เลยตามชอบ (แนะนำว่าเมนูหน้าแรกควรอยู่บนสุด)
หลังจากปรับแต่งเมนูเสร็จให้กด เผยแพร่
จากนั้นกด X มุมซ้ายบน
เสร็จแล้ว!! นี่คือเมนูของเว็บหลังจากสร้างเสร็จ
เรามาดูกันดีกว่าว่าเมื่อเราสร้างเสร็จเว็บของเราจะเป็นอย่างไรเพื่อให้ท่านเห็นภาพนั่นเอง
หน้าแรกที่เราได้จะเป็นหน้าในการรวมบทความทั้งหมดของเว็บเรา โดยจะเป็นการพรีวิวบทความคร่าวๆให้คนกดเข้าไปอ่านบทความละเอียดได้ด้านใน
ซึ่งนี่ก็คือสิ่งที่มีคร่าวๆ
นี่คือภายในบทความของเราเมื่อคนกดเข้ามาอ่านก็จะเจอบทความแบบเต็มตามที่เราเขียนเนื้อหาไว้ทั้งหมด
ซึ่งสิ่งที่ได้คร่าวๆคือ
นี่คือภายในบทความด้านล่างจะมีกล่องผู้เขียนกับกล่องคอมเมนต์และอื่นๆ
ซึ่งนี่คือสิ่งที่มีคร่าวๆ
นี่คือตัวอย่างหน้าเกี่ยวกับเราซึ่งจะมีข้อมูลต่างๆที่คุณต้องการใส่ เช่น
คุณสามารถใส่ข้อมูลและตกแต่งหน้าเว็บได้ตามชอบเลยนี่ผมแค่ทำเป็นตัวอย่างให้ดูเฉยๆ
นี่คือตัวอย่างหน้าติดต่อเราที่ใช้ในการใส่ช่องทางการติดต่อต่างๆของเรา เช่น LINE , Facebook , Email เพื่อให้ผู้คนติดต่อหาเราได้
และเช่นกันคุณสามารถตกแต่งและใส่รายละเอียดอื่นๆได้หมดตามชอบไม่ต้องทำตามผม
นี่คือภาพตัวอย่างเมนูและโลโก้ของเว็บ
ขั้นตอนที่ 7
เราต้องทำการอัพเกรด hosting เพื่อให้เว็บของเราทำงานต่อไปได้ เพราะเราสามารถทดลองใช้ได้ฟรีเพียง 3 วันเท่านั้นหากเราไม่อัพเกรดเว็บของเราก็จะใช้งานไม่ได้นั่นเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 300 บาท/เดือน
แต่พิเศษสุดๆหากคุณกรอกโค้ดส่วนลดตามที่ผมสอนไปในขั้นตอนที่ 2 คุณจะสามารถใช้ฟรีได้ถึง 3 เดือน (มูลค่า 900บาท)
กดไปที่ UPGRADE MY ACCOUNT
Billing Details
จากนั้นกด AUTHORIZE
หากท่านใช้บัตรที่ไม่ใช่บัตรเครดิตท่านต้องมีเงินในบัตรอย่างน้อย 1 usd (31 บาท) เพราะระบบจะลองตัดเงินว่าบัตรของท่านใช้งานได้หรือไม่
ให้ลองไปที่เมนู Funds ท่านก็จะพบว่าเราได้รับเงินมาใช้งาน hosting ฟรีจำนวน 30 ดอลลาร์เรียบร้อยแล้ว
การสร้างเว็บบล็อกด้วย WordPress เราสามารถเริ่มต้นได้ฟรีแต่เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจดโดเมนราคา 280 บาทต่อปี และค่าเช่าโฮสติ้งราคา 300 บาทต่อเดือน หรือสรุปง่ายๆการสร้างเว็บบล็อกใช้เงินทั้งสิ้นประมาณ 323 บาทต่อเดือน
เว็บบล็อก (หรือเว็บ blog) คือเว็บไซต์ที่ใช้รวบรวมและเขียนบทความเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ซึ่งจะเรียงบทความตามลำดับเวลาโดยบทความล่าสุดจะปรากฏเป็นอันดับแรกและต่อด้วยบทความอื่นๆตามลำดับเวลาที่เขียน เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมของนักเขียนหรือกลุ่มนักเขียนที่ใช้ในการแบ่งปันข้อมูลและเนื้อหาในแต่ละเรื่อง
มีช่องทางในการหาเงินจากเว็บบล็อกมากมาย ตัวอย่างเช่น การรับรีวิวสินค้าลงเว็บบล็อก, การลงโฆษณาในเว็บบล็อก, การใส่ลิงก์ Affiliate ลงในเว็บบล็อก, การขายสินค้าหรือบริการต่างๆลงในเว็บบล็อก
คุณสามารถอ่านวิธีการหาเงินจากเว็บไซต์เพิ่มเติมได้ในบทความนี้ → 17 วิธีหาเงินจากเว็บไซต์
บล็อกได้รับความนิยมในหมู่นักเขียน นักรีวิว หรือแม้กระทั่งองค์กรต่างๆ ที่ต้องการแสดงความเชี่ยวชาญหรือสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์อ้างอิงข้อมูลจาก firstsiteguide ปัจจุบันมีเว็บบล็อกมากกว่า 570 ล้านบล็อกที่สร้างขึ้นทั่วโลก
เว็บบล็อกส่วนตัวคือเว็บส่วนตัวของบุคคลสำหรับการเขียนเนื้อหาต่างๆตามที่ตัวเองต้องการ ไม่ได้เป็นขององค์กรหรือของบริษัท
มีซอฟต์แวร์ต่างๆมากมายในการสร้างเว็บไซต์ประเภทเว็บบล็อกซึ่งนี่ก็คือตัวอย่างรายชื่อซอฟต์แวร์ต่างๆที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ได้แก่
WordPress คือผู้ให้บริการในการสร้างเว็บบล็อกที่ได้รับ ความนิยม ดี และมีชื่อเสียง มากที่สุดในโลกในขณะนี้ โดยมีส่วนแบ่งทางตลาดประมาณ 39.5% จะให้เห็นภาพลองเทียบกับผู้ให้บริการอีกเจ้าคือ Wix ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 1.5% (อ้างอิงข้อมูลจาก websitetoolteste)
จะสร้างเว็บบล็อกให้ประสบความสำเร็จได้ควรเริ่มจากการทำในสิ่งที่เราชอบ
อย่างเช่นหากท่านชื่นชอบการเล่นฟุตบอล ท่านก็สร้างเว็บบล็อกเกี่ยวกับการให้ความรู้ในการเล่นฟุตบอล
ซึ่งท่านก็สามารถทำมันได้อย่างต่อเนื่อง เพราะมันเป็นเรื่องที่เราชอบและสนุกในการทำมัน ความต่อเนื่องนี่แหละ คือปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างเว็บบล็อก
ผมแนะนำให้คุณลองทำต่อเนื่องอย่างน้อยประมาณ 1 ปี เว็บของคุณก็จะมีจำนวนผู้เข้าชมที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ตอนที่คุณเริ่มทำเว็บบล็อกเป็นครั้งแรกอาจไม่มีผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณเลยในประมาณ 6 เดือนแรก
คุณไม่ต้องตกใจนั่นคือเรื่องปกติ ให้คุณเอาเวลาที่คิดมากว่าไม่มีคนอ่าน เอาไปสร้างเนื้อหาต่างๆลงในบล็อกของคุณดีกว่าผมรับรองได้เลยว่าหากคุณทำต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี คุณจะประสบความสำเร็จในการสร้างเว็บบล็อกแน่นอน
นี่คือรายชื่อเว็บบล็อกต่างๆของคนไทย ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม คุณสามารถเข้าลองไปอ่าน เพื่อเป็นไอเดียในการเริ่มต้นสร้างเว็บบล็อกของคุณได้
สรุป
ก็จบไปแล้วสำหรับวิธีการสร้างเว็บบล็อก หากคุณเป็นมือใหม่คุณก็คงได้รับคำตอบแล้วว่าจะทำเว็บบล็อกอย่างไร ขอเน้นหัวใจสำคัญในการสร้างเว็บบล็อกคือ ความต่อเนื่อง เนื้อหาที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน หากคุณทำตามนี้รับรองว่าเว็บของคุณจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
สุดท้ายขอให้คุณประสบความสำเร็จในการเริ่มต้นสร้างเว็บบล็อก มีคนอ่านเยอะๆ หากมีคำถามอะไร ก็สามารถทัก LINE มาสอบถามได้ หรือสามารถคอมเมนต์ถามคำถามแสดงความคิดเห็นได้ในบทความนี้เลย หากชอบก็อย่าลืมกดแชร์ต่อไปให้เพื่อนๆได้อ่านด้วยนะครับ สำหรับวันนี้ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะครับ